เกี่ยวกับคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

73 Years ofSuccessfulFaculty of Education, Dhonburi Rajabhat University.

ปรัชญา

ผลิตครูดี รอบรู้ในศาสตร์ ภูมิใจรักในความเป็นครู

วิสัยทัศน์

คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีเป็นองค์กรในการผลิตพัฒนาครูให้มีความเป็น ครูมืออาชีพ และพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษาเพื่อให้มีคุณภาพระดับสากล เป็นผู้นำบริการทาง วิชาการแก่ชุมชน ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสืบสานภูมิท้องถิ่น/ปัญญา ส่งเสริมการวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

พันธกิจ

1. ผลิต พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรอบรู้ในศาสตร์
ภูมิใจรักความเป็นครู เป็นผู้นำเทคนิควิธีการและภูมิใจในท้องถิ่น
2. พัฒนาวิชาชีพครูให้มีคุณภาพระดับสากล
3. พัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี
4. พัฒนาวิชาชีพครูตามเกณฑ์มาตรฐานของวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
5. วิจัยสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนางาน พัฒนาท้องถิ่นและการพัฒนาที่ยั่งยืน
6. บริการทางวิชาการทางการศึกษาด้วยรูปแบบที่หลากหลายถิ่น
และเป็นศูนย์กลางแห่ง การเรียนรู้ของท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
7. พัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีคุณภาพมาตรฐานสู่การปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ
8. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ส่งเสริมสืบสานภูมิปัญญาทองถิ่น
และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
9. บริหารจัดการคณะฯ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมตามหลักธรรมาภิบาลผนวกฐานคิด เศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุประสงค์

1. ผลิตครูและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพระดับประเทศ
2. เสริมสร้างและพัฒนานักศึกษาให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
3. วิจัยสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาท้องถิ่น
4. สร้างเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพครูสู่โรงเรียนและชุมชน
5. ร่วมเสริมสร้างชุมชนในเครือข่ายให้เข้มแข็ง

ความเป็นมาคณะครุศาสตร์

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี นับว่าเป็นคณะวิชาที่เก่าแก่ที่สุด ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เพราะถือกำเนิดตั้งแต่การสถาปนา โรงเรียนฝึกหัดครูอาชีวศึกษาซึ่งเป็นจุดเริ่มของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีในปัจจุบันและมีความเป็นมาโดยย่อดังนี้


พ.ศ. 2491: กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้ง "โรงเรียนอาชีวศึกษา" เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2491 โดยมีวัตถุประสงค์เดิมมุ่งผลิตครูให้กับโรงเรียนในสังกัดอาชีวศึกษา แต่เนื่องจากยังไม่มีสถานที่เป็นของตนเองจึงฝากนักเรียนหญิงให้เรียนที่โรงเรียนการช่างสตรีพระนครใต้และและนักเรียนชายฝากเรียนที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย

พ.ศ. 2495 : ใช้ชื่อใหม่ว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูสตรีอาชีวศึกษา" กรมอาชีวศึกษาได้ซื้อบ้านและที่ดินของเจ้าพระยาพลเทพ สรรพเสพเสนาบดี ศรีเกษตราภิบาล ผลาผลธัญญาหารอุดมสมบูรณ์คณิตศาสตร์ มหาอำมาตย์โกมารกุล วรุณเทพมุรธาธร เกียรติกำจรกัลยาณวัตร พุทธาทิรัตนตรัย คุณธาดา อุดมเมตตาชวาศัย อภัยพิริยบรากรมพาหุมุสิกนาม (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร) * เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน มีเนื้อที่ 1,968 ตารางวา และก่อสร้างอาคารต่างๆ นับเป็นการลงหลักปักฐาน

พ.ศ. 2498 : โรงเรียนฝึกหัดครูสตรีอาชีวศึกษาแห่งนี้ได้โอนมาสังกัดกรมการฝึกหัดครูและยังคงผลิตครูอาชีวศึกษาอยู่จนถึง

พ.ศ. 2500 : ระหว่างนี้ได้มีการจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมรวมกับของเดิมจึงมีพื้นที่ทั้งสิ้น 2,358 ตารางวา

พ.ศ. 2504 : กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนฝึกหัดครูสตรีอาชีวศึกษามาเป็น "โรงเรียนฝึกหัดครูธนบุรี"เปิดสอนนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.)

พ.ศ. 2513 : กรมการฝึกหัดครูประกาศยกฐานะโรงเรียนฝึกหัดครูธนบุรี เป็น "วิทยาลัยครูธนบุรี"เปิดสอนนักศึกษาถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.ชั้นสูง)

พ.ศ. 2519 : วิทยาลัยครูธนบุรี เปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี ตาม พ.ร.บ. วิทยาลัยครู ปี 2518

พ.ศ. 2521 : เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการศึกษา หลักสูตร ค.บ. 2 ปี วิชาเอก วิทยาศาสตร์ทั่วไป เป็นครั้งแรกทั้งภาคปกติ และภาคนอกเวลา และขยายเปิดวิชาเอกอื่นๆ เพิ่มขึ้นในปีต่อมา ในปีเดียวกันนี้ วิทยาลัยครูธนบุรีงดรับบุคคลทั่วไปเข้าเรียนภาคนอกเวลาแต่รับครูประจำการและบุคลากรทางการศึกษา เข้าเรียนตามโครงการอบรมครูและบุคลากรทาง การศึกษาประจำการ (อ.ค.ป.) โดยหน่วยงานต้นสังกัดเป็นผู้ส่งเข้ารับการอบรม มีทั้งระดับ ป.กศ. ชั้นสูง และระดับ ค.บ. 2 ปี

พ.ศ. 2523 : เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการศึกษา หลักสูตร 4 ปี (ค.บ. 4 ปี) โดยเปิดสอนวิชาเอกภาษาอังกฤษเป็นครั้งแรก

พ.ศ. 2526 : เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการศึกษา (ค.บ. 2 ปี) 7 วิชาเอก ได้แก่ วิทยาศาสตร์ทั่วไป ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา คหกรรมศาสตร์ จิตวิทยาและ การแนะแนว และการประถมศึกษา ซึ่งต่อมาได้ขยายการเปิดเป็นระดับ ค.บ. 4 ปี ในวิชาเอกดังกล่าวด้วย ยกเว้นวิชาเอกคหกรรมศาสตร์ยังคงเปิดสอน ค.บ. 2 ปี

พ.ศ. 2528 : เปิดรับนักศึกษาภาคนอกเวลาโครงการ กศ.บป. (การจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ) แทนโครงการอ.ค.ป.ซึ่งเพิ่มเปิดสอน นักศึกษาสาขาต่างๆนอกเหนือจากสาขาวิชาการศึกษา

พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามราชภัฏ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2538 และพระราชทานตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ ให้สถาบันราชภัฏได้อันเชิญมาเป็นตราสัญลักษณ์ของสถาบัน เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2538

พ.ศ. 2544 เปิดสอนระดับปริญญาตรี 4ปีสาขาวิชาการศึกษาเพิ่มขึ้นในโปรแกรมวิชาการวัดผลการศึกษา คอมพิวเตอร์ศึกษา และคณิตศาสตร์ในปีต่อมา

พ.ศ. 2546 เปิดสอนระดับปริญญาตรี 5 ปี สาขาวิชาการศึกษา (ค.บ. 5 ปี) เป็นครั้งแรกตามนโยบายของ รัฐบาล ได้แก่ โปรแกรมวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา และ วิทยาศาสตร์ทั่วไป โดยมีนักศึกษาส่วนหนึ่ง จำนวน 30 คน ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาล เป็นนักศึกษาโปรแกรมวิชาสังคม21 คน วิทยาศาสตร์ทั่วไป 3 คน และคณิตศาสตร์6คน และได้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาตามนโยบายของรัฐบาลเป็นรุ่นแรก

พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาบันราชภัฏเปลี่ยนสถานภาพ เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นนิติบุคคล สถาบันราชภัฏธนบุรี จึงเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547

พ.ศ. 2548 เปิดสอนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ โดยเปิดหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหาร การศึกษา และเปิดโครงการความร่วมมือทางวิชาการกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดนครนายก ระดับปริญญาโท หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน

พ.ศ. 2550 มีโครงการพิเศษร่วมกับโรงเรียนปราณบุรี อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และศูนย์เพชรเกษม 81 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู

พ.ศ. 2552 เปิดสอนหลักสูตรสาขาวิชาปฐมวัย (ค.บ. 5 ปี) ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีสมุทรปราการ

พ.ศ. 2553 เปิดสอนระดับอนุบาลศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีสมุทรปราการ

พ.ศ. 2564 เปิดสอนหลักสูตรพลศึกษา (ค.บ. 4 ปี) ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีสมุทรปราการ

66

Consultants

73

Years of Experience